บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. พาราฟีน
พาราฟิน หรือ เคโรซีน
เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมซึ่งกลั่นแยกออกจากน้ำมันดิบ จุดหลอมเหลวประมาณ 47-64
องศาเซลเซียส จุดเดือดประมาณ 150-275 องศาเซลเซียส
ไม่ละลายในน้ำ สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมายเเละมีหลายสถานะด้วยกัน
การใช้งาน หรือ ประโยชน์ (แบ่งตามสถานะ)
·
แก๊ส
·
ใช้เป็นเชื้อเพลิง
·
ของเหลว
·
ใช้เป็นเชื้อเพลิง
·
ใช้เป็นยารักษาโรค
·
ใช้ในการทำครัว
·
ของแข็ง
(ในรูปขี้ผึ้ง)
·
ใช้ผลิตเทียน
·
ใช้เคลือบกระดาษบางชนิด
·
ใช้เคลือบเสื้อผ้า
·
ใช้เป็นส่วนผสมทำยาหม่อง
·
ใช้ทาปาก-ผิว
เพื่อลดความหยาบกร้าน (เพิ่มความชุ่มชื้น
พาราฟิน แว็กซ์
พาราฟิน
แว็กซ์ (Paraffin wax) คือ
เป็นชื่อสามัญของแว็กซ์ที่เป็นสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน
เป็นแว็กซ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มปิโตรเลียมแว็กซ์ (Petroleum wax) โดยมีสูตรโครงสร้างทางเคมี คือ CnH2n+2 จำนวนคาร์บอนในห่วงโซ่โมเลกุล
19-36 อะตอม (C19-C36) มีลักษณะเป็นของแข็ง มีสีเหลืองอ่อนถึงขาว มีจุดหลอมเหลว อยู่ที่ระหว่าง
48-68 องศาเซลเซียส
คุณสมบัติทางเคมีของพาราฟิน แว็กซ์
·
ลักษณะ/รูปร่าง
แบบแผ่น/แบบเม็ด
·
สี ขาว
·
ค่าพีเฮช
ความเป็นกรด/ด่าง 5.8-6.3
·
ปริมาณน้ำมันในแว็กซ์
(%ของน้ำหนักแว็กซ์) 0.1%-5%
·
กลิ่น เล็กน้อย
·
ค่าความถ่วงจำเพาะ
(กรัม ต่อลบ.ซม.) 0.82-0.92
·
จุดหลอมเหลว
(องศาเซลเซียส) 48-68
·
จุดเริ่มกลับแข็งตัว
(วุ้น) (องศาเซลเซียส) 66-69
·
จุดวาบไฟ
(องศาเซลเซียส) 204-271
·
จุดเริ่มติดไฟ
(องศาเซลเซียส) 238-263
·
จุดเดือด
(องศาเซลเซียส) 350-430
·
ค่าความหนืดที่ 100 องศาเซลเซียส (เซนติสโตก) 3.1-7.1
·
จำนวนคาร์บอนในห่วงโซ่โมเลกุล
- 9-36
·
ค่าความอ่อนแข็งที่อุณหภูมิ
25 องศาเซลเซียส 20 max/ค่าสูงสุด
การจำแนกประเภท
พาราฟิน
แว็กซ์ แบ่งเกรดโดยการใช้ปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ (Oil
Content) โดยแบ่งออกได้เป็น 3 เกรด ดังนี้
1.
พาราฟิน แว็กซ์
ฟูลลี่ รีไฟน์ (Paraffin wax Fully refined) จะมีค่าของปริมาณน้ำมันในแว็กซ์
ตั้งแต่ 0.1% - 0.5%ของน้ำหนักพาราฟิน แว็กซ์ (%wt)
2.
พาราฟิน แว็กซ์ เซมิ
รีไฟน์ (Paraffin wax Semi refined) จะมีค่าของปริมาณน้ำมันในแว็กซ์
ตั้งแต่ 0.5% -1.5% ของน้ำหนักพาราฟิน แว็กซ์ (%wt)
3.
พาราฟิน แว็กซ์ เซมิ
รีไฟน์ (Paraffin wax Semi refined) หรือ สแลค
แว็กซ์ (Slack wax) จะมีค่าของปริมาณน้ำมันในแว็กซ์
ตั้งแต่ 3 % - 5% ของน้ำหนักพาราฟิน แว็กซ์ (%wt)
พาราฟิน
แว็กซ์ แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1.
พาราฟิน
แว็กซ์แบบแผ่น (Slab form)
2.
พาราฟิน แว็กซ์แบบเม็ด
(Granule form)
กระบวนการผลิตพาราฟิน แว็กซ์
พาราฟิน
แว็กซ์ เป็นแว็กซ์ที่ได้มาจากกากส่วนที่เหลือ ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ
โดยกระบวนการกลั่นน้ำมันแบบหอกลั่นลำดับส่วน
ไขหรือกากแว็กซ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นนี้ เรียกว่า สแลค แว็กซ์ (Slack
wax) ซึ่งยังมีปริมาณน้ำมันในแว็กซ์สูง นำสแลค แว็กซ์ ที่ได้
มาผ่านกระบวนการการสกัดน้ำมันออกจากแว็กซ์ เพื่อให้ได้พาราฟิน แว็กซ์
ที่มีปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ตามค่ามาตรฐานของพาราฟิน
แว็กซ์ที่สามารถนำมาใช้ทำเทียนและใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ
2.ตะไคร้
![]()
ตะไคร้(Lemongrass) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon
citratus (DC.) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต มีกลิ่นหอม
ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก
ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร
และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วยในส่วนของสรรพคุณใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่
ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด
ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ
ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี
ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ
ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว
มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง
น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้
ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม
และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้
นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมากๆ
|
สรรพคุณของตะไคร้
ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง
ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้
และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร
และขับเหงื่อ
หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น
จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น
และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก
แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ
แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย
อ้างอิงข้อมูลสรรพคุณ : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้

การขยายพันธุ์
สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือเหง้าไปปลูก
การเตรียมแปลงปลูก
โดยการไถดินตากก่อนประมาณ
7
วัน เพื่อกำจัดวัชพีช โรคและแมลงในดินตามด้วยการไถพรวนเพื่อย่อยดิน
การยกร่องทำแบบเดียวกับการปลูกพืช โดยทั่ว ๆ ไป
ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ
50
x 50 ซม. แล้วนำส่วนของหน่อหรือเหง้าลงปลูกระหว่างข้างร่อง
หรือกลางร่อง หลุมละประมาณ 1-2 ต้น โดยปักให้เอียง 45
องค์ศา
ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้หน่อหรือเหง้าประมาณ 6,400-12,800 ต้นแล้วแต่ระยะห่างระหว่างเหง้า
การให้น้ำ
สามารถทำได้ 2 แบบ คือ ให้น้ำแบบสปริงเกอร์
และปล่อยน้ำไหลเข้าร่องพอให้ดินเปียกการให้ปุ๋ยหลังจากปลูกประมาณ 20 – 50 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 และ 16-20-0 และเมื่อตะไคร้เริ่มมีการแตกกอในช่วงตั้งแต่ 120-150 วัน ใส่ปุ๋ยสูตรเดิมเดือนละครั้งเพื่อเร่งการเจริญเติบโตส่วนของเหง้าและใบ
การดูแลรักษาตะไคร้
ตะไคร้เป็นพืชที่ทนต่อโรคแมลงและทนแล้งได้ดีซึ่งง่ายต่อการดูแล
ปัญหาที่มักพบกับต้นตะไคร้บ้านคือหนอนกอเข้าทำลายในระยะต้นกำลังเจริญเติบโตอย่างไรก็ตามสสามารถป้องกันได้ด้วยการำกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด
และดูแลให้ต้นตะไคร้แข็งแรงโดยการใส่ปุ๋ยบำรุงดิน
การวางแผนการผลิต/การผลิต
จัดประชุมวางแผนการผลิตและการตลาดในท้องถิ่น
เพื่อกำหนดทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตของกลุ่มก่อนปลูกโดยประสานกับผู้รับซื้อที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือลูกค้าเป้าหมายของกลุ่ม
ผลผลิต
(ผลผลิตสด) เริ่มให้ผลผลิตได้หลังปลูก 90 วัน (ผลผลิต
2 ต้น/ไร่/ปี)
ตลาดและผลตอบแทน
เริ่มให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้หลังปลูก
90
วัน (ผลผลิต 2 ต้น/ไร่/ปี)
ต้นทุนการผลิต และผลตอบแทน
ต้นทุนการผลิต
|
2,585
บาท/ไร่
|
ผลผลิตเฉลี่ย
|
2,000 กก./ไร่
|
ราคาที่เกษตรกรขายได้
|
4-6 บาท/กก.
|
รายได้รวม
|
10,000 บาท/ไร่
|
รายได้สุทธิ
|
7,415 บาท/ไร่
|
แหล่งที่มา : http://www.moac.go.th (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
)
.2 เว็บบล็อก (WebBlog)
2.2.1 ความหมายของเว็บบล็อก (WebBlog)เว็บล็อก(อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง
ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลําดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน
ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ
ไม่ว่า เพลงหรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ
บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน
ซึ่งทําให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คําว่า "บล็อก"
ยังใช้เป็นคํากริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก
และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า
"บล็อกเกอร์"บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก
โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น
การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน
นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน
นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทําบล็อกของทางบริษัทขึ้น
เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า
โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น
และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
2.2.2 ประเภทของเว็บบล็อก
1.แบ่งตามลักษณะของมีเดียที่มีในบล็อกได้แก่
1.1.Linklog
บล็อกแบบนี้น่าจะเป็นบล็อกรุ่นแรก
ๆเป็นบล็อกที่รวมลิ๊งก์ที่เจ้าของบล็อกสนใจเอาไว้ ถ้าคณยังจําผู้ให้กําเนิดคําว่า“บล็อก” ที่ชื่อ จอห์น บาจเจอร์ได้ นั่นแหล่ะครับ
robotwisdom.comของเขาคือตัวอย่างของ linklog นั่นเองแม้ว่าจะบล็อกแบบนี้จะเป็นการรวมลิ๊งก์เท่านั้น
แต่ก็ไม่เรียงเหมือนว็บไดเร็กทอรี่เพราะเจ้าของบล็อกจะโพสต์ลิ๊งก์ของเขา
1–2ลิ๊งก์ต่อโพสต์เท่านั้นครับ
ใครที่อยากมีบล็อกเป็นของตนเองแต่ยังนึกไม่ออกว่าจะทําบล็อกแบบไหน linklogน่าจะเป็นการเริ่มต้นการทําบล็อกได้เป็นอย่างดี
1.2 Photoblog
ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า Photo บล็อกประเภทนี้เน้นในโพสต์ภาพถ่ายที่เจ้าของบล็อกอยากนําเสนอและมักจะไม่เน้นที่จะเขียนข้อความมากนัก
บางบล็อกเรียกได้ว่าภาพโดยเจ้าของบล็อกล้วนๆ เลยครับ
1.3. Vlog
ย่อมาจาก Videoblogเป็นบล็อกที่รวมวิดีโอคลิปไว้ในบล็อกVlogเป็นบล็อกที่เรียกได้ว่าเป็นบล็อกที่นิยมทํากันมากในอนาคตเพราะการเจริญเติบโตของไฮสปีด
อินเตอร์เน็ต หรือ อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบรนด์ที่ทําให้การถ่ายทอดเสียง ภาพเคลื่อนไหว
movie
2.แบ่งตามประเภทเนื้อหา ได้แก่
2.1 บล็อกส่วนตัว(Personal Blog)นําแสนอความคิดเห็นกิจวัตรประจําวันของเจ้าของบล็อก
เป็นหลัก
2.2 บล็อกข่าว(News
Blog) บล็อกที่นําเสนอข่าวเป็นหลัก
2.3 บล็อกกลุ่ม(Collaborative Blog)เป็นบล็อกที่เขียนกันเป็นกลุ่ม
เช่น blognone.com
2.4บล็อกการเมือง(Politic Blog)ว่าด้วยเรื่องการเมืองล้วน
ๆ
2.5บล็อกเพื่อสิ่งแวดล้อม(Environment Blog)พูดถึงเรื่องราวของธรรมชาติและการรักษา
สิ่งแวดล้อม
2.6 มีเดียบล็อก(Media Blog) เป็นบล็อกที่วิเคราะห์สื่อต่างๆ
สารคดีและสิ่งที่เกี่ยวกับสื่อ
เช่น oknation.net/blog/black
ของสุทธิชัย หยุ่น
2.7บล็อกบันเทิง(Entertainment Blog)บล็อกที่นําเสนอเรื่องราวบันเทิงทั้งทางจอแก้ว
และ
จอเงิน เรื่องซุบซุดารา กองถ่ายฯลฯ
2.8บล็อกเพื่อการศึกษา(Educational
Blog)ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
มักจะใช้บล็อกเป็นสื่อในการสอนหรือแลกเปลี่ยนความคิดกัน
2.9ติวเตอร์บล็อก(Tutorial Blog)เป็นบล็อกที่นําเสนอวิธีการต่าง
2.2.3
เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก
2.2.4 ประวัติของเว็บไซต์ Blogger
ประวัติความเป็นมาของ Blogger
Blogger เริ่มต้นจากบริษัทเล็กๆ
ในซานฟรานซิสโกในปี 1999 นับตั้งแต่ Blogger เปิดตัวก็ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของเว็บ
สร้างผลกระทบต่อการเมือง เขย่าวงการสื่อสารมวลชน
และทำให้คนนับล้านได้แสดงออกและติดต่อกับบุคคลอื่น ณ.ปัจจุบัน Blogger ได้ถูกซื้อไปอยู่ในความครอบครองของ Google เรียบร้อยแล้ว
Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้นผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติและจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริงBlog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้นจุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้นผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติและจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริงBlog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้นจุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
blogger.com
เมื่อเริ่มให้บริการในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2542
ทำไมต้องใช้ Blogger
1. ใช้งานง่าย แค่มีบัญชีอีเมล์ของ Google นั่นก็คือ Gmail
คุณก็สามารถสร้าง Blog ออกมาได้นับไม่ถ้วน
2. ปรับแต่งง่าย มีเทมเพลต พร้อมทั้ง Gadget มากมายให้เลือกใช้
เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวของคุณ
3. ไม่ล่ม แน่นอนครับก็มี Google ดูแลอยู่นี่นา
4. ข้อสุดท้ายสำคัญที่สุด สามารถนำมาติดโฆษณาหารายได้จาก Google Adsense ได้อย่างง่าย ๆ หลาย ๆ คนเอามันมาเป็นสะพานเพื่อสมัคร Google
Adsense
ที่มาของเนื้อหา
http://www.seosamutprakarn.com/
http://lastberry.myfri3nd.com/blog
http://basicblogspot.blogspot.com/2009/03/blog.html
http://keng.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น